การถอนฟัน
การถอนฟัน
จะเกิดขึ้นในกรณีที่ฟันซี่นั้นไม่สามารถรักษาไว้ได้อีกต่อไป ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนและใส่ฟันใหม่ทดแทน ซึ่งจะเป็นวิธีสุดท้ายที่ทันตแพทย์จะแนะนำ เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟัน คือ
- มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
- มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease)
- ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน
วิธีดูแลหลังทำการถอนฟัน
- กัดผ้าแน่นๆอย่างน้อย 1 ชั่วโมง อาจใช้น้ำแข็งประคบด้านนอก 10-20 นาที เพื่อลดอาการปวด+บวม
- ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ห้ามกลั้วปากแรงๆ ห้ามดูดแผล หรือออกกำลังกายที่ต้องให้แรง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่่ และอาหารรสจัด
- สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยง กระทบบริเวณแผล
- รับประทานยาตามทันตแพทย์สั่ง
- ถ้าเป็นคนไข้เด็ก ให้ระมัดระวังการกัดริมฝีปากและลิ้นบริเวณที่มีอาการชา
การผ่าฟันคุด
ผ่าฟันคุด
ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายของฟันแท้ ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะขึ้นเพียงบางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลยทั้งซี่ เป็นเหตุให้ฟันฝังตัวในกระดูกขากรรไกรในท่าต่างๆกัน เช่น ตะแคงบ้าง เอียงบ้าง ส่วนมากจะออกมาในช่วงอายุระหว่า 18-20 ปี หลายคนที่ไปพบทันตแพทย์ และตรวจพบว่ามีฟันคุด หมอฟันจะแนะนำให้ถอนหรือผ่าออก แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกก็ตาม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ อาจทำให้เกิดสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
- คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันสะสมที่ซอกเหงือก
- ฟันซี่ข้างๆ เกิดการผุได้ง่ายเนื่องจากการทำความสะอาดที่ลำบาก
- การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก
- อาจก่อให้เกิดอาการ ปวด บวม อักเสบติดเชื้อ
- โรคเหงือกและขากรรไกร
อาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก
- อาการปวดบริเวณเหงือก
- เกิดการอักเสบติดเชื้อ
- อาการบวมที่หน้า
- อาการเหงือกบวมบริเวณแผลที่ผ่า
การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง