การถอนฟัน

การถอนฟัน

    จะเกิดขึ้นในกรณีที่ฟันซี่นั้นไม่สามารถรักษาไว้ได้อีกต่อไป ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนและใส่ฟันใหม่ทดแทน ซึ่งจะเป็นวิธีสุดท้ายที่ทันตแพทย์จะแนะนำ เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟัน คือ

  1. มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  2. มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease)
  3. ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
  4.  มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน

วิธีดูแลหลังทำการถอนฟัน

  1. กัดผ้าแน่นๆอย่างน้อย 1 ชั่วโมง อาจใช้น้ำแข็งประคบด้านนอก 10-20 นาที เพื่อลดอาการปวด+บวม
  2. ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ห้ามกลั้วปากแรงๆ ห้ามดูดแผล หรือออกกำลังกายที่ต้องให้แรง
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่่ และอาหารรสจัด
  4. สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยง กระทบบริเวณแผล
  5. รับประทานยาตามทันตแพทย์สั่ง
  6. ถ้าเป็นคนไข้เด็ก ให้ระมัดระวังการกัดริมฝีปากและลิ้นบริเวณที่มีอาการชา

การผ่าฟันคุด

ผ่าฟันคุด

    ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายของฟันแท้ ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะขึ้นเพียงบางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลยทั้งซี่ เป็นเหตุให้ฟันฝังตัวในกระดูกขากรรไกรในท่าต่างๆกัน เช่น ตะแคงบ้าง เอียงบ้าง ส่วนมากจะออกมาในช่วงอายุระหว่า 18-20 ปี หลายคนที่ไปพบทันตแพทย์ และตรวจพบว่ามีฟันคุด หมอฟันจะแนะนำให้ถอนหรือผ่าออก แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกก็ตาม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ อาจทำให้เกิดสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันสะสมที่ซอกเหงือก
  2. ฟันซี่ข้างๆ เกิดการผุได้ง่ายเนื่องจากการทำความสะอาดที่ลำบาก
  3. การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก
  4. อาจก่อให้เกิดอาการ ปวด บวม อักเสบติดเชื้อ
  5. โรคเหงือกและขากรรไกร

   อาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก

  1. อาการปวดบริเวณเหงือก
  2. เกิดการอักเสบติดเชื้อ
  3. อาการบวมที่หน้า
  4. อาการเหงือกบวมบริเวณแผลที่ผ่า

การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง